เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ทำให้ระบบการขนส่งสินค้าทำได้อย่างรวดเร็ว และคงความ “สด” (Live) ถึงมือผู้บริโภคได้ โลกออนไลน์ก็ไม่ต่างอะไรกับโลกของความเป็นจริง นวัตกรรมดิจิทัลทุกวันนี้ ทำให้สิ่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยความ “สด” มากยิ่งขึ้น
คำว่า [LIVE] ที่มักโผล่ขึ้นบนจอทีวีเวลามีการถ่ายทอดสด เดิมทีต้องใช้เทคโนโลยีสุดอลังการที่จะทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงผู้รับได้ในแบบใกล้เคียงเวลาจริงที่สุด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งที่เราจะส่งนั้นมีรายละเอียดและปริมาณมากแค่ไหน
วิทยุกระจายเสียงหรือโทรศัพท์ก็เป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสดเหมือนกัน แต่นั่นเฉพาะเสียง แต่ถ้าพูดถึงการส่งภาพเคลื่อนไหวหรือถ่ายทอดสดวิดีโอนั้น มันมีความซับซ้อนและต้องใช้ศักยภาพสูงกว่ามาก เพราะต้องส่งทั้งภาพและเสียงไปยังปลายทาง โดยในแต่ละวินาทีต้องส่งให้ได้อย่างน้อย 24 ภาพ เพื่อให้ภาพนิ่งแต่ละภาพนั้นรวมกันแล้วดูเหมือนขยับเขยื้อนกลายเป็นภาพวิดีโอ นี่ยังไม่รวมการส่งเสียงที่ห้ามขาดหายตลอดเวลาเช่นกัน
ก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ต การส่งภาพวิดีโอแบบต่อเนื่องที่ผู้ชมดูได้ทันทีเกือบเท่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนั้น ต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสารระยะไกลและความเร็วสูง เช่น สัญญาณดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ ส่งสัญญาณจากต้นทางไปยังสถานีศูนย์กลาง ก่อนจะแพร่ภาพออกไปตามปกติ ซึ่งพวกนี้ต้นทุนไม่ใช่ถูก ๆ จึงไม่ใช่ทำได้บ่อย ๆ
แต่ในยุคปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง A) อุปกรณ์พกพาอย่างมือถือหรือแท็บเล็ต บวกกับ B) แอพพลิเคชันที่เหมาะสม และ C) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถทดแทนข้อ 2) 3) 4) ได้อย่างเกือบสมบูรณ์แบบ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ การส่งภาพวิดีโอแบบสด ๆ จึงเป็นไปได้จริง และมีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ และที่สำคัญ ไม่เพียงแต่ภาคของการส่ง แต่ฟากของผู้รับ ผู้ชม ที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต ก็เข้าถึงความเร็วสูงขึ้น ทั้งไฟเบอร์ที่บ้าน และ 4G กับมือถือ และในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่ผู้รับมีนั้น สามารถพลิกบทบาทใช้เป็นอุปกรณ์ส่งได้ทันทีเช่นกัน
แม้จะได้ข้อ 2) 3) 4) มาอยู่ในมือแล้ว แต่ก็ยังไม่พอที่จะถ่ายทอดสดได้ เพราะเราไม่มีข้อ 5) ซึ่งเป็นตัวแพร่กระจายภาพสดนั้นสู่สายตาประชาชน แต่แล้วองค์ประกอบที่ 5) ก็เริ่มเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี 2558-2559 เป็นต้นมา ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Twitter, Google (YouTube) พร้อมใจกันหันมาทยอยเปิดให้บริการเป็นศูนย์กลางของการถ่ายทอดสดวิดีโอไปสู่สายตาประชาชนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และต้องขีดเส้นใต้คำว่า “ถ่ายทอดสดไปทั่วโลก” แถมยัง “บ่อยแค่ไหน นานเท่าใด ก็ไม่มีต้นทุนเพิ่มเท่าใดนัก”
ประชาชนซึ่งมีเนื้อหา คือข้อ 1) อยู่แล้ว จึงไม่รีรอที่จะถ่ายทอดสดเรื่องราวของตนเองออกไปสู่สายตาประชาชนกันอย่างหนาตา ถือเป็นการเปิดฉากการถ่ายทอดสดแบบอิสระ โดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างเป็นทางการ พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ของการสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าดู และแน่นอนมาพร้อมสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด อย่างการถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตาย ดังนั้น 2) 3) 4) 5) ที่เคยเป็นภูเขาอุปสรรคขนาดใหญ่ได้ถูกทลายลงแล้ว เปิดทางอย่างอิสระให้กับประชาชนทุกคนที่ใช้เงินทุนไม่กี่บาทต่อเดือน สามารถเข้าถึงระบบการถ่ายทอดสดได้ทัดเทียมกับสถานีโทรทัศน์
คำถามที่จะวนเวียนอยู่ในหัวของหลาย ๆ คน คือ “จะถ่ายทอดสดอะไร” “จะไลฟ์เรื่องไหน” “จะขายอะไร” รวมทั้ง “ถ่ายทอดสดแบบนี้ นี่มันเหมาะสมหรือไม่” Instagram บริษัทในเครือ Facebook ลงมารับไม้ต่อ ทำถ่ายทอดสดบ้างแล้ว Twitter ก็สู้ด้วยการฝังระบบถ่ายทอดสดในแอพฯ ส่วน YouTube ที่เคยจำกัดการถ่ายทอดสดเฉพาะคนดัง ก็กำลังจะเปิดให้ใครก็ได้มาถ่ายทอดสดกัน
ปี 2560 จะเป็นอีกปีที่ คำว่า LIVE หรือ “สด” จะอยู่บนมุมจอของใครหลาย ๆ คน จนกลายเป็นสิ่งที่คุ้นชิน เมื่อมันหาความ “สด” กันง่ายขนาดนี้ คำถามคือ “สด” นั้น “สะอาด” และ “ถูกหลัก” หรือเปล่า ?
บทความนี้นำจากคอลัมณ์ “ทันดิจิทัล” ประจำ Comtoday ฉบับที่ 544 by @YOWARE , อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.aripfan.com
Forgot password | ลืมรหัสผ่าน ?
ให้ท่านกรอก Email ของท่านที่ใช้ในการสมัครสมาชิก ระบบจะทำการส่งรหัสผ่านใหม่ไปให้กับท่านทาง Email แบบอัตโนมัติ
สามารถจัดการข้อมูลสมาชิกได้ด้วยตัวท่านเอง
สามารถรับชมรายการต่างๆ มากมายเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
รับข่าวสารและสิทธิพิเศษจากเราก่อนใครๆ
คุยสด มันส์ๆ กับเพื่อนๆผ่านห้องสนทนาออนไลน์
สามารถโหวตรายการ ที่ท่านชื่นชอบได้